ทีมU2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล จับมือนักวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงและชุมชนมอญคุ้งพยอม ลงพื้นที่สำรวจเก็บตัวอย่างต้นมะส่าน พืชพื้นถิ่นมอญหายาก เตรียมเพาะเนื้อเยื่อขยายพันธุ์
- หมวด: ข่าวกิจกรรมมหาวิทยาลัย
- เผยแพร่เมื่อ: วันจันทร์, 03 พฤษภาคม 2564 09:19
- ฮิต: 1026
วันที่ 30 เมายน 2564 ผศ.สัจจา ไกรศรรัตน์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการผู้ประสานงานโครงการU2Tมหาวิทยาลัยสู่ตำบลพื้นที่ตำบลคุ้งพยอมและนครชุมน์ อำเภอบ้านบ้านโป่ง และอาจารย์ ดร.กรกนก จิตตั้งมั่น อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมทีมงานศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงร่วมลงสำรวจและเก็บยอดอ่อนและผลต้นมะส่าน พืชอาหารอัตลักษณ์พื้นถิ่นหายากของชุมชนมอญตำบลคุ้งพยอม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยพระอาจารย์คำนึง จิรวฑฺฒโน ประธานศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถีชาติพันธุ์บ้าน คุ้งพยอม นายคมสรร จับจุ รองประธานสภาวัฒนธรรมตำบลนครชุมน์ และทีมงานU2Tมหาวิทยาลัยสู่ตำบลคุ้งพยอม และตำบลนครชุมน์ ผู้นำชุมชนและชาวบ้านพาสำรวจต้นมะส่าน พื้นที่บ้านฝั่งเกาะ หมู่ที่ 1 และบ้านโพธิ์โสภาราม หมู่ที่ 9 ตำบลคุ้งพะยอม ซึ่งพบว่ามีต้นมะส่านเพียง 3 ต้นที่ยังหลงเหลือให้ชาวบ้านเก็บผลไปทำอาหารได้เพียงปีละครั้ง และจากการสำรวจข้อมูลก็เป็นความต้องการของชุมชนที่ต้องการให้มีอนุรักษ์และขยายพันธุ์ เพื่อให้คงอยู่และเป็นวัตุดิบในการประกอบอาหารพื้นถิ่นแบบฉบับของวิถีวัฒนธรรมชุมชนมอญต่อไป
ทางด้านอาจารย์ ดร.กรกนก จิตตั้งมั่น อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยากล่าวว่า ในการสำรวจและเก็บตัวอย่างยอดอ่อนผลต้นมะส่านพืชหายากของชุมชนมอญไปเข้าสู่กระบวนการเพาะเนื้อเยื่อในห้องปกิบัติการเพื่อกระตุ้นเซลล์ของพืชให้เกิดการแตกยอดและรากเพื่อขยายพันธุ์ ซึ่งทางศูนย์เพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อก็มีการทดลอง วิจัยพืชต่างๆรวมถึงบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนให้นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยาได้ศึกษาเรียนรู้ตอบโจทย์การปฏิบัติงานได้จริงในการพัฒนาท้องถิ่น
ด้านผศ.สัจจา ไกรศรรัตน์ กล่าวว่า เนื่องจากต้นมะส่านของชุมชนมอญแห่งนี้เกิดตามธรรมชาติไม่สามารถเพาะพันธุ์ได้ตามปกติ จึงได้นำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาต่อยอด โดยทีมงานU2Tได้หาวิธีในการขยายพันธุ์ ซึ่งได้ประสานงานกับศูนย์เพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อของมหาวิทยาลัยทำการขยายพันธุ์ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนได้ปลูกอนุรักษ์ต่อไป ในขั้นตอนของการนำเสนออาหาร จากโลโคล่อร่อย แบบเลอค่าสู่โต๊ะอาหารที่จะนำไปสู่การแปรรูปได้ชิมอาหารพื้นถิ่นวิถีวัฒนธรรมมอญที่มีคุณค่า จะให้ประสบการณ์ท้องถิ่นที่แตกต่างอย่างไร ซึ่งเอกลักษณ์วัฒนธรรมมอญมีความลุ่มรวย ในเรื่องของอาหารการกิน การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ ก็จะเชื่อมโยงสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และเปิดเส้นทางการท่องเที่ยววิถีชุมชนได้อย่างยั่งยืน
ภาพข่าว : วัฒนา อ่วมเนตร | เขียนข่าว : วัฒนา อ่วมเนตร