Accessibility Tools

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

     สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการได้ทำหนังสือขอพระราชทาน “สัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ” และแนบรูปแบบสัญลักษณ์ ทั้ง 41 สถาบัน และ 1 สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ พร้อมคำอธิบายประกอบ เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2538 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯพระราชทานตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏและสำนักงานสถาบันราชภัฏ ตามที่ขอพระราชทาน พระมหากรุณาธิคุณ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538

     สัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏเป็นรูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9 ตราที่ใช้เป็นพระประทับกำกับพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน เช่น ใบประกาศนียบัตรกำกับเหรียญรัตนาภรณ์ เป็นต้น พระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักร มีอักขระเป็น อุ หรือเลข ๙ รอบวงจักร มีรัศมีเปล่งออกโดยรอบเหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้นตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชา นุภาพในแผ่นดิน โดยที่วันบรมราชาภิเษกตามโบราณพระราชประเพณีได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ สมาชิกสภาถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปด

 

   สีสัญลักษณ์ตราประจำมหาวิทยาลัยมี 5 สี มีความหมายดังนี้
     สีสัญลักษณ์ ตรามหาวิทยาลัย เป็นรูปวงรี 2 วง ล้อมตามพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ที่พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ภายในวงรี เป็นชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งด้านบนเป็นอักษรภาษาไทย ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษซึ่งเป็นตัวเขียนที่เป็นลักษณะเฉพาะสีในตรามหาวิทยาลัยมีความหมายและคุณค่าดังนี้
       
     สีน้ำเงิน แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ให้กำเนิดและพระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ”
     สีเขียว แทนค่า แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยฯ 41 แห่ง ในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
     สีทอง แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางปัญญา
     สีส้ม แทนค่า ความรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมไทยท้องถิ่นที่ก้าวไกลใน 41 มหาวิทยาลัย
     สีขาว แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์ แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 

   สีประจำมหาวิทยาลัย
     
    สีน้ำเงิน
    สีเขียว
    สีเหลือง

 

   คติธรรมประจำมหาวิทยาลัย
     
สุกมมิโก กิตติมาวหาติ    หมายถึง งานสุจริตมีเกียรติทั้งสิ้น

 

   ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
     
ต้นราชพฤกษ์