เจตนารมณ์/ นโยบาย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
เจตนารมณ์ (Intention) |
1. | มีผลงานที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น |
2. | มีผลงานที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการผลิตครูที่มีจิตวิญญาณความเป็นครูและมีสมรรถนะสูง รวมถึงการพัฒนาครูประจำการให้มีคุณภาพ |
3. | บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม ที่ดีงาม สามารถประกอบอาชีพได้เมื่อสำเร็จการศึกษา |
นโยบาย (Policy) |
ด้านการผลิตบัณฑิต : มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีจิตสํานึกดี และมีความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะการเป็น บัณฑิตผู้ขับเคลื่อน พัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่ โดยกําหนด เป้าหมายการพัฒนา 4 Flagships ดังนี้ | |
1. | เร่งการปรับหลักสูตรของทุกคณะ : โดยใช้กลไกงบประมาณและการประกันคุณภาพ EdPEx เป็น หลักในการขับเคลื่อนและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนา กรณี หลักสูตรที่ยังไม่ตอบโจทย์ สามารถ ยุติหรือควบรวมหรือร่วมกันปรับ และจัดการทรัพยากรนําไปสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ เพื่อสร้างความเป็นเลิศ เฉพาะของมหาวิทยาลัย หน่วยขับเคลื่อน ได้แก่ ทุกคณะ สํานักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน และสํานักมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา |
1.1) ปรับบางหลักสูตรเป็น competency based ที่เป็น modular systems ข้ามคณะข้าม | |
1.2) ทุกหลักสูตรของมหาวิทยาลัยต้องเป็น CWIE: Corporative and Work Integrating Education สอดรับกับกลไกระบบงบประมาณ ตาม มาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. การอุดมศึกษา พ.ศ.2562 หน่วยประสานขับเคลื่อน ได้แก่ งานสหกิจศึกษา | |
2. | เตรียมพัฒนาบัณฑิตไม่ให้จบไปแล้วตกงาน ด้วยการ upskill reskill หรือ สร้าง new skill ที่ จําเป็นในยุคใหม่ (new normal) และคงอัตลักษณ์บัณฑิตจอมบึงผ่านการเรียนการสอนปกติและสนับสนุนการเข้า ร่วมโครงการจัดหารายได้ฯระหว่างเรียน เมื่อจบแล้วจะได้มีเงินเก็บเป็นทุนเบื้องต้น ส่งเสริมการฝึกงานแบบสหกิจ หรือระบบจัดการแบบโรงเรียนโรงงาน |
3. | ขับเคลื่อนความเป็นสากล : มุ่งรับนักศึกษาต่างชาติให้มากขึ้น ยกระดับความเป็นสากลของ มหาวิทยาลัยโดยเริ่มที่ ระดับปริญญาเอก ปริญญาโทก่อนที่จะขยายไปถึงระดับปริญญาตรี นําไปสู่การจัดตั้ง วิทยาลัยนานาชาติในอนาคต ปัจจุบันนําร่องในระดับปริญญาเอกสาขาการจัดการเทคโนโลยี |
4. | ขับเคลื่อนการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยภายใต้ข้อบังคับว่าด้วยระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) หน่วยประสานกลาง ได้แก่ สํานักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จะดําเนินการนําร่อง ที่ศูนย์เรียนรู้วัด พัชรกิติภายาราม จํานวน 200 คน ในภาคเรียนที่ 1/2565 |
ด้านการผลิตและพัฒนาครู : มุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบการผลิตครูที่สอนเก่ง ทํางานเก่ง มีความรัก เมตตาลูกศิษย์ ตามแนวทางครูพันธ์บึงที่มีจิตสํานึกในการพัฒนาเด็กและท้องถิ่นของตนเอง โดยกําหนด เป้าหมาย การพัฒนา 6 Flagships ดังนี้ | |
1. | ทบทวนระบบการบริหารจัดการ การผลิตครูโดยเน้นการบูรณาการระหว่างสาขาวิชาและคณะให้มี ความเข้มแข็งมากขึ้น โดยเฉพาะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ควรจัดให้มีคณะทํางานที่มีอํานาจหน้าที่ รับผิดชอบงานอย่างชัดเจน |
2. | พัฒนา Soft Skill โดยใช้แนวทางวิศวกรสังคม และMind Fullness เพื่อให้นักศึกษาครูนําไปใช้ และถ่ายทอดต่อ |
3. | สนับสนุนโครงการครูรักษ์ถิ่น โดยเพิ่มสาขาและพัฒนาไปสู่ต้นแบบการผลิตครูระบบปิดในอนาคต |
4. | สนับสนุนให้มีการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้ได้มาตรฐานสากลอย่างน้อยระดับ B2 |
5. | พัฒนาโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู |
6. | ขยายชั้นเรียนโรงเรียนสาธิตฯให้ครอบคลุมถึงระดับประถมศึกษา |
ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษา : มุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะ บุคลากรทุกประเภท ทุกระดับเพื่อ บรรลุเป้าหมายการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย โดยกําหนดเป้าหมายการพัฒนา 4 Flagships ดังนี้ | |
1. | พัฒนามาตรฐานสมรรถนะ (Competency Standard) และความต้องการจําเป็นในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรที่สอดคล้องกับการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยและการทํางานพัฒนาท้องถิ่น หน่วยประสาน ขับเคลื่อน ได้แก่ งานบริหารบุคคล |
2. | นํากระบวนการพัฒนาสติในองค์กรมาประยุกต์ใช้ในการทํางานทุกหน่วยงาน หน่วยประสาน ขับเคลื่อน ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย |
3. | สนับสนุนอาจารย์ให้ทําผลงานวิชาการรับใช้สังคมอย่างน้อยคณะละ 1 ผลงานที่ได้ตําแหน่งทาง วิชาการ หน่วยประสานขับเคลื่อน ได้แก่ งานบริหารบุคคล |
4. | ทบทวนระบบการให้ค่าภาระงาน การประเมินความดีความชอบ การให้ทุนศึกษาต่อให้สอดคล้อง กับPerformance indicators & Potential indicators ของมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 3 : พัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือ ชุมชนอื่น หน่วยประสานขับเคลื่อน ได้แก่ งานบริหารบุคคลและกองนโยบายและแผน |
ด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น : มุ่งเน้นการพัฒนาราชบุรี โดยร่วมมือกับสถานศึกษา องค์กรในชุมชน และประชาชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกําหนด เป้าหมายการ พัฒนา 5 Flagships ดังนี้ | |
1. | พัฒนาและเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ชุมชนเพื่อเป็นแหล่งพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและคนในพื้นที่ ให้มี ความเข้มแข็งในการพัฒนาตนเองและชุมชน พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ เชิงวัฒนธรรม/เชิง กีฬา/เชิงนวัตวิถีหรืออื่นๆ โดยมีทุกหน่วยงานและคณะทํางานขับเคลื่อน |
2. | ต่อยอดโครงการ U2T ให้เกิดนวัตกรรมชุมชน ผ่าน PAR และผลงานวิชาการรับใช้สังคมอย่างน้อย คณะละ 1 ผลงาน / 1 นวัตกรรมต่อปี |
3. | บูรณาการโครงการตามงบประมาณยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและโครงการ U2T (กําหนดเป้าหมาย/งบประมาณ/เครือข่ายทั้งภายใน-ภายนอก) |
4. | ส่งเสริมการสืบทอดและพัฒนาความรู้จากผู้มีภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่นจนสามารถพัฒนาสู่ศรษฐกิจมูลค่าสูงอย่างน้อยอําเภอละ 1 ชิ้นงาน |
5. | จัดให้มีหน่วยประสานการดําเนินเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นทั้งการประสานภายใน/ภายนอก โดยเน้นโครงการกิจกรรมทุกรูปแบบ ยกเว้นการวิจัยตามพันธกิจของสถาบันวิจัยฯ |
ด้านการวิจัยและบริหารจัดการ : มุ่งเน้นการทํางานเป็นทีม สื่อสารอย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา โปร่งใส จริงใจ และกระจายอํานาจและความรับผิดชอบ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ถูกทํานองครองธรรม โดยกําหนด เป้าหมายการพัฒนา 10 Flagships ดังนี้ | |
1. | จัดทําและใช้ฐานข้อมูล: ใช้ระบบ MIS เป็นฐาน นําไปสู่การทํางานแบบ demand driven |
2. | ปรับเปลี่ยนการรับรู้ภาพลักษณ์ของMCRU (Brand recognition and Rebranding) และวางระบบมหาวิทยาลัยยั่งยืนเพื่อขอรับการจัดอันดับระดับโลก |
3. | แก้ไขข้อบังคับ/ระเบียบ/ประกาศให้ทันสมัยและเอื้อต่อการทํางาน |
4. | สร้างระบบราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงให้อยู่ร่วมกับ Covid-19 ให้ได้ภายใต้ 3 หลัก (1) ความปลอดภัยส่วนบุคคล/สังคม (Vacine/ATK/NewNormal) (2) ร่วมด้วยช่วยกันทุกภาคส่วน (3) Education equality |
5. | ร่วมทํางานกับภาคประกอบการวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลงทั้งในมหาวิทยาลัยและชุมชน |
6. | เชื่อมโยงแผนพัฒนาความเป็นเลิศ ตามมาตรา 45(3) แห่ง พ.ร.บ. การอุดมศึกษา พ.ศ.2562 และ แผนพัฒนาคุณภาพตามยุทธศาสตร์ราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 45(1) และ 45(2) โดยใช้ประเด็นยุทธศาสตร์ หลักและการวิเคราะห์ SORA |
7. | วางระบบการพัฒนาผู้บริหาร พัฒนาผู้นําในอนาคต สร้างผู้นําที่เป็นแบบอย่างที่ดี |
8. | ปฏิรูประบบการเงินโดยสนับสนุนการเพิ่มรายได้ให้มากยิ่งขึ้น จากโครงการจัดหารายได้ (หลักสูตรระยะสั้น รับจ้างผลิต บริการ วิจัย อื่นๆ โดยใช้หลักการ All Win และถูกต้องตามระเบียบที่สภามหาวิทยาลัยและคณะกรรมการจัดหารายได้กําหนด) |
9. | สนับสนุนการทํางานในรูปแบบ Cross Function Team ข้ามคณะ ข้ามสาขาวิชา ทั้งสายวิชาการและ สายสนับสนุน (โครงการศูนย์เรียนรู้สัมมาชีพ/โครงการวิจัยพัฒนากัญชา กัญชง กระท่อมและพืชสมุนไพร/ โครงการให้บริการสุขภาพ เป็นต้น) |
10. | สนับสนุนการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมตามแนวทาง BCG Economy ในระดับชุมชนท้องถิ่น และพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ |