Accessibility Tools

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงเปิดพื้นที่โครงการห้องเรียนมีชีวิต (Living Lab) เพื่อความมั่นคง ทางอาหารและการจัดการสิ่งแวดล้อม

       วันที่ 7 ตุลาคม 2567 ผศ.ดร.ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงเป็นประธานพิธีเปิดพื้นที่โครงการห้องเรียนมีชีวิต (Living Lab) เพื่อความมั่นคง ทางอาหารและการจัดการสิ่งแวดล้อม ณ บริเวณใต้อาคารศูนย์ปฏิบัติการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดยผศ.รพีพรณ กองตูมรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.วสันต์ นาคเสนีย์ คณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ผศ.ดร.ชัชวาล แอร่มหล้า บุคลากร และนักศึกษาร่วมกิจกรรม ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ จึงได้กำหนดปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัย จัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ บนฐานนวัตกรรมและภูมิปัญญาไทย ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามปรัชญาที่กำหนด จึงต้องสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง บูรณาการความรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ด้วยการทำงานเป็นทีม เพื่อร่วมกันวางแผน ออกแบบพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่พบเจอได้อย่างสร้างสรรค์ หน่วยพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ จึงจัดโครงการห้องเรียนมีชีวิต (Living Lab) เพื่อความมั่นคงทางอาหารและการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยโครงการนี้มุ่งเน้นการร่วมสร้าง (Co-Creation) ระหว่างคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาโยธาและสถาปัตยกรรม และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ ดำเนินกิจกรรมให้นักศึกษาและอาจารย์มีส่วนร่วมในการออกแบบและสร้างพื้นที่ green-working space ภายใต้อาคารคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมใหม่ โดยนำองค์ความรู้ด้านการออกแบบภูมิสถาปัตย์ การใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) มาออกแบบชิ้นงานและสร้างพื้นที่การเรียนรู้สาธารณประโยชน์ ภายใต้แนวคิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG 4 เป้าหมายที่ 4 เพื่อสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติจริงนอกห้องเรียน และเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีพื้นที่เรียนรู้ นอกห้องเรียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
       ซึ่งทางนักศึกษาสาขาวิชาสาขาโยธาและสถาปัตยกรรมได้นำเสนอผลงานการทำโต๊ะอเนกประสงค์ ด้วยแนวคิดการออกแบบแข็งแรงทนทานต่อทุกสภาพ ซึ่งมีผศ.อนุชา บุญเกิด เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการของสาขา และสาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมคอมพิวเตอร์นำนักศึกษได้นำเสนอผลงานการพัฒนากำแพงต้นไม้และระบบรดน้ำอัตโนมัติผ่านระบสมาร์โฟน IOT ซึ่งมีอาจารย์อดิศักดิ์ โฮนอก เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการของสาขา ร่วมนำเสนอผลงานในการขับเคลื่อนโครงการ


   
  ที่มา : งานสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร