มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงร่วมกับทีมวิจัยโภชนศาสตร์สุกรมหาวิทยาลัยนเรศวร ภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชนจัดสัมมนาวิชาการสร้างองค์ความรู้ใหม่ และหาแนวทางรอดต่อวิกฤตการณ์ของฟาร์มสุกร เพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืน
- หมวด: ข่าวกิจกรรมมหาวิทยาลัย
- เผยแพร่เมื่อ: วันจันทร์, 11 มีนาคม 2567 08:56
- ฮิต: 1146
วันที่ 8 มีนาคม 2567 ที่หอประชุมรัตนพฤกษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี ผศ.รพีพรรณ กองตูม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏหมูบ้านจอมบึง เป็นประธานพิธีปิดการสัมมนาวิชาการ นวัตกรรมงานวิจัยสารเสริมสุกรแห่งอนาคต และเทคโนโลยีฟาร์มหัวข้อ "การจัดการโภชนะอย่างชาญฉลาด และการใช้เทคโนโลยีเพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืน" โดยมีผศ.ดร.สันติ รักษาวงศ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมอาจารย์ประจำสาขาวิชาสัตวศาสตร์ นายนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี ผู้แทนปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี นักศึกษา และหน่วยงานภาคีภาครัฐ ภาคเอกชนร่วมในพิธี และว่าที่ร.ต. อดิศักดิ์ คงแก้ว ทีมวิจัยโภชนศาสตร์สุกร มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ด้วยทางคณะกรรมการการจัดงานสัมมนาวิชาการ การเลี้ยงสุกร และเทคโนโลยีฟาร์มมีจุดเริ่มต้น จากความร่วมมือกันระหว่าง บริษัท เฟิร์สลี่เทค จำกัด และบริษัท ซีดีเอฟ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ได้ร่วมกับ วิจัย และพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์กับ ทีมโภชนศาสตร์สุกร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมทั้งเพื่อ ผลักดันผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยออกสู่ตลาด และเกิดการใช้จริงในฟาร์มสุกร กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการไฟโตแทนท์ (PHYTOTANT) ผลิตภัณฑ์พลังงานเร่งด่วน และกรดลอริกเข้มข้นสูงสำหรับลูกสุกร เป็นทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยี และนวัตกรรม หรือ TED Fund ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และร่วมจัดกิจกรรมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อให้ข้อมูล และการใช้งานของผลิตภัณฑ์ไฟโตแทนท์ PHYTOTANT) พร้อมลงชื่อรับผลิตภัณฑ์นำไปทดสอบการใช้จริงเชิงอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันสร้างองค์ความรู้ใหม่ และหาแนวทางรอดต่อวิกฤตการณ์ของฟาร์มสุกร ในปัจจุบัน และเพื่อสร้างเครือข่ายอย่างบูรณาระหว่างภาครัฐ ฟาร์มสุกร และภาคเอกชนต่อการส่งเสริม และการบริการวิชาการอย่างยั่งยืน
สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ยังได้รับความอนุเคราะห์จาก นายนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม นายกสมาคม ผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี เป็นวิทยากรในการเสวนา หัวข้อ "ฝ่าวิกฤต และแสวงหาทางรอดของฟาร์มสุกรปัจจุบัน" เล่าสู่กันฟังความสำเร็จแนวนโยบายการควบคุมโรค และแนวทางการปรับตัวอย่างยั่งยืนของฟาร์มสุกรโซนราชบุรี ศาสตราจารย์ ดร. ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บรรยายพิเศษ มุมมองการปรับใช้ไมโครไบโอม ในหัวข้อ โภชนศาสตร์ และการแสวงหาทางรอดสู่ความยั่งยืนธุรกิจฟาร์มสุกร และรศ.ดร. วันดี ทาตระกูล เสวนาและบรรยายพิเศษในหัวข้อ มุมมองประยุกต์ใช้งานวิจัย เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์มสุกร ผลงานวิจัยการใช้ Medium-chain fatty acids (MCFA) เป็นพลังงานเร่งด่วนสำหรับแม่ และลูกสุกร ซึ่งดำเนินกิจกรรมเสวนาโดย อาจารย์ ดร. พุทธพร พุ่มโรจน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ในการนี้ยังมีการบรรยาย และหัวข้อ แนวคิดเชิงกลุยุทธ์การจัดการสุกรเชิงอินทรีย์และการปรับตัวของผู้เลี้ยงสุกรในจังหวัด โดยนายสุพจน์ สิงห์โตศรี เจ้าของฟาร์มหมูหลุมดอนแร่ จังหวัดราชบุรี ร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรมนี้ด้วย และในกิจกรรมในครั้งนี้ยังได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ร่วมกันจัดกิจกรรม แสดงสินค้า และเชิญชวนฟาร์มสุกรเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมนักศึกษาสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณัะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ซึ่งมีหลักสูตรในการเรียนการสอนและฝึกประสบการณ์ในฟาร์มปศุสัตว์ รวมถึงผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรในจังหวัดราชบุรีจะได้นำความรู้ไปปรับใช้ใช้ในการพัฒนาการเลี้ยงสุกรต่อไป
สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ยังได้รับความอนุเคราะห์จาก นายนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม นายกสมาคม ผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี เป็นวิทยากรในการเสวนา หัวข้อ "ฝ่าวิกฤต และแสวงหาทางรอดของฟาร์มสุกรปัจจุบัน" เล่าสู่กันฟังความสำเร็จแนวนโยบายการควบคุมโรค และแนวทางการปรับตัวอย่างยั่งยืนของฟาร์มสุกรโซนราชบุรี ศาสตราจารย์ ดร. ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บรรยายพิเศษ มุมมองการปรับใช้ไมโครไบโอม ในหัวข้อ โภชนศาสตร์ และการแสวงหาทางรอดสู่ความยั่งยืนธุรกิจฟาร์มสุกร และรศ.ดร. วันดี ทาตระกูล เสวนาและบรรยายพิเศษในหัวข้อ มุมมองประยุกต์ใช้งานวิจัย เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์มสุกร ผลงานวิจัยการใช้ Medium-chain fatty acids (MCFA) เป็นพลังงานเร่งด่วนสำหรับแม่ และลูกสุกร ซึ่งดำเนินกิจกรรมเสวนาโดย อาจารย์ ดร. พุทธพร พุ่มโรจน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ในการนี้ยังมีการบรรยาย และหัวข้อ แนวคิดเชิงกลุยุทธ์การจัดการสุกรเชิงอินทรีย์และการปรับตัวของผู้เลี้ยงสุกรในจังหวัด โดยนายสุพจน์ สิงห์โตศรี เจ้าของฟาร์มหมูหลุมดอนแร่ จังหวัดราชบุรี ร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรมนี้ด้วย และในกิจกรรมในครั้งนี้ยังได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ร่วมกันจัดกิจกรรม แสดงสินค้า และเชิญชวนฟาร์มสุกรเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมนักศึกษาสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณัะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ซึ่งมีหลักสูตรในการเรียนการสอนและฝึกประสบการณ์ในฟาร์มปศุสัตว์ รวมถึงผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรในจังหวัดราชบุรีจะได้นำความรู้ไปปรับใช้ใช้ในการพัฒนาการเลี้ยงสุกรต่อไป
ที่มา : | งานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร |