หน่วยพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาอาหารชาติพันธุ์พื้นถิ่นต.คุ้งพยอม ด้วยแนวคิดวิทยาศาสตร์การปรุงอาหาร ยกระดับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวสร้างเศรษฐกิจสู่ชุมชน
- หมวด: ข่าวกิจกรรมมหาวิทยาลัย
- เผยแพร่เมื่อ: วันพุธ, 20 เมษายน 2565 14:15
- ฮิต: 971
วันที่ 18 เมษายน 2565 ที่วัดโพธิ์บัลลังค์ ต.คุ้งพยอม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดยหน่วยพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาอาหารชาติพันธุ์พื้นถิ่น ด้วยแนวคิดวิทยาศาสตร์การปรุงอาหาร (Molecular Gastronomy) ภายใต้โครงการภาคีเครือข่าย(Flag Ship) ซึ่งมีอาจารย์ดร.ครองศักดา ภัคธนกนก ผู้ประสานงานหน่วยพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการนำเสนอแผนกิจกรรมโครงการ และมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัจจาไกรศรรัตน์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ ผู้ประสานงานการพัฒนาท้องถิ่นต.คุ้งพยอม อาจารย์ ดร.วรรณรัตน์ เฉลิมแสนยากร ประธานสาขาวิชาเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาจารย์ ดร.รินรำไพ พุทธิพันธ์ อาจารยประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย และคณะร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นความต้องการและกับพระคำนึง จิรวฑโน ประธานศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถีชาติพันธุ์มอญบ้านคุ้งพยอมและชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชุมชนวิถีชาติพันธ์ต.คุ้งพยอมร่วมเวทีแลกเปลี่ยนพร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารของดีของต.คุ้งพยอมของดีและความต้องการของชุมชนในการพัฒนาอาหารของชุมชนในยกระดับสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์
อาจารย์ดร.ครองศักดา ภัคธนกนก กล่าวว่า อาหารมีคุณลักษณะของความเป็นชุมชนท้องถิ่น มีความสัมพันธ์ตามธรรมชาติ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ สภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพมีความเชื่อมโยงกับผลผลิตทางการเกษตร ในฐานะวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ที่มีความเกี่ยวโยงกับฤดูกาล ความสำคัญของอาหารดังกล่าว หน่วยพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง และชุมชนท้องถิ่นต.คุ้งพยอม และจากเวทีการรับฟังแลกเปลี่ยนกับชุมชนจะมีการพัฒนาอาหารชาติพันธุ์พื้นถิ่นด้วยแนวคิดวิทยาศาสตร์การปรุงอาหาร (Molecular Gastronomy) ซึ่งจะเป็นการสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวบนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรม ผ่านกระบวนการคิดเชิงระบบ (Design Thinking) และการถ่ายทอดเทคโนโลยี (technology transfer) สู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม โดยผูกเรื่องของอาหารที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและเรื่องของสุขภาพ ในวันนี้ก็มีคณะอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทยและคณะวิทยาการจัดการเป็นการบูรณาการในการทำงานร่วมกันและได้โจทย์ที่จะไปพัฒนาพื้นที่ และการนำเรื่องของศิลปวัฒนธรรม อาหารเพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม และเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเพื่อนำไปสู่การขยายผลในพื้นที่อื่นๆต่อไป