มรภ.หมู่บ้านจอมบึงจับมือทีมU2T นครชุมน์เสวนาเรียนรู้ครูภูมิปัญญาเตรียมยกระดับชุมชนมอญ สู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยววิถีมอญนครชุมน์ นำร่องท่องเที่ยววิถีมอญเทศกาลออกพรรษานี้
- หมวด: ข่าวกิจกรรมมหาวิทยาลัย
- เผยแพร่เมื่อ: วันศุกร์, 08 ตุลาคม 2564 10:12
- ฮิต: 1098
วันที่ 7 ตุลาคม 2564 ผศ.ดร.สัจจา ไกรศรรัตน์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ในฐานะผู้ประสานงานโครงการ U2T ตำบลนครชุมน์จัดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูภูมิปัญญาเรื่องอาหารมอญพื้นบ้านและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บนฐานอัตลักษณ์ชุมชน และการขับเคลื่อนการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยววิถีมอญนครชุมน์ ณ ลานวัดใหญ่นครชุมน์ ต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โดยมีนายเสรี มุ่งเมือง เกษตรอำเภอบ้านโป่งร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องของการจดทะเบียนและการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพร้อมเยี่ยมชมการทำอาหารมอญจากครูภูมิปัญญา ซึ่งมีนายคมสรร จับจุ รองประธานสภาวัฒนธรรมตำบลนครชุมน์ และประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยววิถีมอญนครชุมน์ พร้อมสมาชิกและทีมU2T ตำบลนครชุมน์ร่วมกิจกรรม เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์มอญนครชุมน์และเพื่อใช้เป็นสื่อผลิตภัณฑ์ในการสื่อสารการท่องเที่ยวสัมผัสวัฒนธรรมมอญ อาทิสำรับอาหารคาวหวานมอญพร้อมเสริฟ สำรับอาหารเพื่อสุขภาพของชาวไทยมอญเพื่อจัดแสดงทางวัฒนะรรมในการกินของชาติพันธ์มอญ
สำหรับการเรียนรู้อาหารมอญครั้งนี้มีอาหารคาวต่างๆอาทิ แกงกล้วยดิบใบมะขามอ่อนปลาย่าง น้ำพริกปลาย่างมะตาด และมีการทำขนมต้มลูกโยน ซึ่งชุมชนมอญจะใช้ถวาบพระในช่วงเทศกาลออกพรรษา โดยการทำอาหารมอญจากครูภูมิปัญญาเพื่อถอดองค์ความรู้ของภูมปัญญาและนำไปสู่ การพัฒนาใส่ความคิดสร้างสรรค์และความร่วมสมัยเพื่อสร้างมูลค่าพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน สำหรับต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่งเป็น 1 ใน 35 ตำบลที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงโดยทีมงาน U2T ได้ดำเนินงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หรือมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ ซึ่งได้รับการอนุมัติจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีการจ้างงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มนักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด 19 เพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน รวมถึงการพัฒนาทักษะในการเสริมสร้างอาชีพใหม่ในชุมชน และให้มีการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน