Accessibility Tools

ประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงจัดงานการประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้าน จอมบึงวิจัย ครั้งที่ 12 "พัฒนาภูมิปญญาไทย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อย่างสร้างสรรค์ด้วย Soft Power"

       เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 ที่ห้องประชุมฉัตรฟ้า อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง นางสาววริษฐา สงวนเสริมศรี รองผู้ว่าราชการ จังหวัดราชบุรีเปนประธานพิธีเปิดงานการประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้าน     จอมบึงวิจัย ครั้งที่ 12 "พัฒนาภูมิปญญาไทย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อย่างสร้างสรรค์ด้วย Soft Power" (The 12th Muban Chombueng Rajabhat NationalConference "Enhancing forThai wisdom, Science, Technology andInnovation Creative with Soft Power") เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดยมีคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ และ อาจารย์ นักวิจัยร่วมในพิธี ซึ่งผศ.ดร.ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ตัวแทนผู้จัดงานกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ภายในงานยังมีกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงได้มีการสร้างเครือข่ายในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น ผ่านการจัดแสดงผลงานนิทรรศการงานวิจัย และนิทรรศการแสดงผลงานทรัพย์สินทางสินค้าชุมชนและการจัดแสดงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงได้ไปส่งเสริมสนับสนุน นิทรรศการภูมิปัญญา ศิลปะและวัฒนธรรม (Soft Power) ท้องถิ่นราชบุรีสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์” การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผู้ประกอบการ ของดีจังหวัดราชบุรี และชมรมผู้ประกอบการนักศึกษา รวมถึงนิทรรศการประวัติความเป็นมา 7 ทศวรรษราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จากวิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึงสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

       ประเด็นเรื่องในการมีส่วนร่วม ซึ่งก่อนที่จะมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงเฉกเช่นทุกวันนี้ ได้วิวัฒน์พัฒนาจากวิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง และจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2497 มีการพัฒนาและเติบโตยาวนานถึง 70 ปี ซึ่งวันที่ 1 มีนาคม 2567 ถือเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของวันสถาปนานี้ จึงจัดการประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัยขึ้น โดยครั้งแรกจัดใน วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556 และต่อเนื่องมาทุกปี ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 12 ในหัวข้อเรื่อง "พัฒนาภูมิปัญญาไทย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์  ด้วย Soft Power" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้คณาจารย์ นักวิจัยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของ สถาบันอุตมศึกษาทั้งภาครัฐ และเอกซน และบุคคลที่สนใจได้นำเสนอผลงานวิจัยและผลงานวิชาการสู่สาธารณะ อันก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนายกระดับคุณภาพงานวิจัยและงานวิซาการ รวมทั้งแลกเปลี่ยนแนวคิด วิธีปฏิบัติและประสบการณ์ ในการวิจัย ซึ่งนำไปสู่การสร้างเครือข่ายการวิจัย ความก้าวหน้าทางวิซาการที่สามารถนำ ความรู้จากการวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ได้อย่างเป็นรูปธรรม 

       สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม สำหรับการประชุมวิชาการครั้งนี้มีการนำเสนอผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ ภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์ ในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ครอบคลุมถึง 6 สาขา ได้แก่  ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านบริหารธุรกิจ และการท่องเที่ยว  ด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านการเกษตรและ สิ่งแวดล้อมจำนวนรวม 111 เรื่อง และนอกจากการนำเสนอผลงานทางวิชาการแล้วยังมี กิจกรรมอื่น และการบรรยายพิเศษ อาทิ การบรรยายพิเศษ หัวข้อ "ประเด็น Soft Power พลังแห่งการขับเคลื่อนงานวิจัย" โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ มั่งคั่ง ตำแหน่ง อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตร การสอนและการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การเสวนา ในหัวข้อเรื่อง "สุดยอดงานวิจัยสู่ ตลาดภาคธุรกิจ จากหมื่นสู่ยอดขาย" ยี่สิบล้านและผลกระทบของ Soft Power ต่อองค์กร" โดยหนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์Seek" ทรายแมวจาก มันสำปะหลัง ทรายแมวกิน ได้เจ้าแรกของโลก ดร.ลัญจกร อมรกิจบำรุงกรรมการผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท เวลตี้ ม็อกกี้ อินโนเวชั่น จำกัด โดยมีผู้ร่วมการเสวนานายชัยรัตน์ ชื่นเจริญ พาณิชย์ จังหวัดราชบุรี และนายสุพัฒน์ อ่อนคง เกษตรจังหวัดราชบุรี การจัดแสดงผลงาน นิทรรศการงานวิจัย และนิทรรศการแสดงผลงานทรัพย์สินทางสินค้าชุมชนและการจัด ประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกหลากหลายสถาบันในสาขาที่เกี่ยวข้องให้ความอนุเคราะห์ในการกลั่นกรองคัดสรรรวมถึงตรวจสอบความถูกต้องของบทความวิจัยและบทความวิชาการรวมทั้งวิพากษ์บทความที่นำเสนอจะเห็น ได้ว่าจำนวนบทความทั้งภายในและภาคีเครือข่ายได้เพิ่มมากขึ้นทุกปี

       การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน สะท้อนถึงคุณภาพของงานวิชาการที่มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงตระหนักและ ให้ความสำคัญในการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดงานยิ่งนอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากเจ้าภาพร่วมจัดงาน จำนวน 13 แห่งจาก เครือข่ายมหาวิทยาลัย สมาคมวิชาการและสมาคมวิชาชีพ ในการจัดงานในครั้งนี้ ประกอบด้วย สมาคมหลักสูตรและการสอนแห่งประเทศไทย  สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สมาคมพัฒนาวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย  สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ราชบุรี  ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฎไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี ซึ่งผลสรุปของการประเมินผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นักวิจัย เครือข่ายร่วมจัดงาน และคณะกรรมการฝ่ายต่างๆก็จะนำประเด็นต่างๆ ไปพัฒนาและบูรณาการมีส่วนร่วมในการจัดงานครั้งต่อไปในปี 2568

 
  ที่มา : งานสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร